เมนู

ว่าโดยความไม่หย่อนไม่ยิ่ง


ก็ข้อว่า โดยความไม่หย่อนไม่ยิ่ง นี้ ถามว่า เพราะเหตุไร
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสขันธ์ว่ามี 5 เท่านั้น ไม่หย่อนไม่ยิ่ง ดังนี้. ตอบว่า
เพราะทรงสงเคราะห์สังขตธรรมทั้งหมดที่มีส่วนเสมอกันเข้าเป็นพวกเดียวกัน
เพราะวัตถุเครื่องยึดถือตนและของเนื่องด้วยตนนี้มีขันธ์ 5 เป็นอย่างยิ่ง และ
เพราะความที่ธรรมอื่น ๆ ก็ไม่นอกจากขันธ์ 5 นั้น.
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงสงเคราะห์สังขตธรรมมีประเภท
มิใช่น้อยเข้าด้วยอำนาจที่มีส่วนเสมอกัน รูปก็เป็นขันธ์หนึ่งด้วยอำนาจการ
สงเคราะห์รูปที่มีส่วนเสมอกันเข้าเป็นพวกเดียวกัน. เวทนาก็เป็นขันธ์หนึ่งด้วย
อำนาจการสงเคราะห์เวทนาที่มีส่วนเสมอกันเข้าเป็นพวกเดียวกัน แม้ในสัญญา
ขันธ์เป็นต้นก็นัยนี้แหละ เพราะฉะนั้น จึงตรัสขันธ์ไว้ 5 เท่านั้น เพราะทรง
สงเคราะห์สังขตธรรมทั้งหมดที่มีส่วนเสมอกันไว้เป็นพวกเดียวกัน. อนึ่ง วัตถุ
แห่งการยึดถือว่าเป็นตนเป็นของเนื่องด้วยตนนี้ คือ ขันธ์ 5 นี้มีรูปเป็นต้น
เป็นอย่างยิ่ง ข้อนี้สมกับพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่
ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) อาศัยรูป ยึดมั่นรูป ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า เอตํ มม
เอโสหมสฺมิ เอโส เม อตฺตา เวทนาย ฯเปฯ สญฺญา ฯเปฯ สํขาเรสุ
ฯเปฯ วิญฺญาเณ สติ วิญฺญาณํ อุปาทาย วิญฺญาณํ อภินิวิสฺส
เอวํ ทิฏฺฐิ อุปฺปชฺชติ เอตํ มม เอโสหมสฺมิ เอโส เม อตฺตา

(นี้ของเรา เราเป็นนี้ นี้อัตตาของเรา เมื่อเวทนามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสัญญามีอยู่
ฯลฯ เมื่อสังขารทั้งหลายมีอยู่ ฯลฯ เมื่อวิญญาณมีอยู่ ทิฏฐิ อาศัยวิญญาณ
ยึดมั่นวิญญาณ ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า นี้ของเรา เราเป็นนี้ นี้อัตตาของเรา

ดังนี้.1 เพราะฉะนั้น จึงตรัสขันธ์ไว้ 5 เท่านั้น แม้เพราะความที่วัตถุแห่งการ
ยึดถือตนและของเนื่องด้วยตนก็มีขันธ์ 5 นี้เป็นอย่างยิ่ง. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมขันธ์
5 มีศีลขันธ์เป็นต้นอื่น ๆ ใดที่ตรัสไว้ แม้ธรรมขันธ์เหล่านั้น2 ก็ถึงการรวม
ลงในขันธ์ 5 นี้ เพราะความที่ธรรมขันธ์นับเนื่องในสังขารขันธ์ เพราะฉะนั้น
จึงตรัสว่า ขันธ์มี 5 เท่านั้น เพราะความที่ธรรมอื่น ๆ ไม่พ้นจากขันธ์นั้น
พึงทราบนัยแห่งวินิจฉัยโดยไม่หย่อนยิ่ง ด้วยประการฉะนี้.

ว่าโดยความอุปมา


ก็ในข้อว่า โดยความอุปมา นี้ รูปอุปาทานขันธ์ เปรียบเหมือน
โรงพยาบาล เพราะเป็นที่อยู่ของวิญญาณอุปาทานขันธ์ซึ่งเปรียบเหมือนคนป่วย
ด้วยอำนาจแห่งวัตถุ ทวาร และอารมณ์. เวทนาอุปาทานขันธ์เปรียบเหมือน
ความป่วยไข้เพราะเป็นตัวเบียดเบียน. สัญญาอุปาทานขันธ์เปรียบเหมือนสมุฏ-
ฐานของความป่วยไข้ เพราะเป็นแดนเกิดเวทนาที่สัมปยุตด้วยกิเลสมีราคะ
เป็นต้น ด้วยอำนาจกามสัญญาเป็นต้นนั่นแหละ. สังขารอุปาทานขันธ์ เปรียบ
เหมือนการเสพอสัปปายะ เพราะเป็นต้นเหตุแห่งความป่วยไข้ คือ ตัวเวทนา
สมดังที่ตรัสไว้ว่า รูปํ รูปตฺตาย สงฺขตํ อภิสงฺขโรนฺติ ฯเปฯ ภิกฺขเว
ตสฺมา สงฺขาราติ วุจฺจนฺติ
(ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า สังขาร เพราะ
อรรถว่า ปรุงแต่งสังขตธรรมคือรูปโดยความเป็นรูป ปรุงแต่งสังขตธรรมคือ
เวทนาโดยความเป็นเวทนา ปรุงแต่งสังขตธรรมคือสัญญาโดยความเป็นสัญญา
ปรุงแต่งสังขตธรรมคือสังขารทั้งหลายโดยความเป็นสังขารปรุงแต่งสังขตธรรม
1. สํ. ขนฺธวาร. เล่มที่ 17 420/250
2. ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์